วิธีป้องกัน-ช่วยเหลือเด็กจมน้ำ ช่วงหน้าร้อน ที่พ่อแม่ต้องระวัง

สถิติจาก สสส. พบว่ามีเด็กไทยเสียชีวิตจากเหตุจมน้ำมากกว่าปีละ 1,400 คนต่อปี เฉลี่ยนวันละ 3 คน เพราะความประมาทหรือการได้รับความช่วยเหลือที่ไม่ถูกวิธี ทำให้สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายกว่าเดิม วันนี้ทาง Undubzapp ขอรวบรวมข้อมูลจาก สสส. ในการปฐมพยาบาลเด็กจมน้ำอย่างไรให้ถูกวิธี ถ้าไม่อยากให้ลูกคนเป็น 1 ใน 1,400 คนนี้ ต้องรีบอ่านด่วนค่ะ

 

ถ้าเด็กจมน้ำ แต่ยังรู้สึกตัว ช่วยเหลืออย่างไร?

ถ้าหากเด็กยังหายใจเองได้แต่ยังตกใจกลัว ให้เช็ดตัว เปลี่ยนเสื้อผ้าแห้ง และอย่าประมาท ให้รีบพาไปส่งโรงพยาบาลด่วน เพราะถึงแม้ช่วงแรกจะหายใจได้แต่อาจมีอาการหายใจลำบากได้ในภายหลังสาเหตุจากถุงลมในปอดถูกทำลายจากการสำลักน้ำ

ดูแล เด็ก เล่นน้ำ

 

การปฐมพยาบาลเด็กจมน้ำที่ไม่หายใจ/หัวใจหยุดเต้น

  1. จดเบอร์ไว้เลย 1669 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ประชาชนบาดเจ็บ ป่วยฉุกเฉิน โทรฟรี 24 ชั่วโมง จะมีเจ้าหน้าที่ดูแลช่วยเหลือท่านอย่างใกล้ชิด
  2. เปิดทางเดินหายใจ โดยให้เด็กนอนราบ กดหน้าผากลงและเชยคางขึ้นเบาๆ
  3. ตรวจการหายใจในเวลา 3-5 วินาที โดย

– มองหน้าอกหรือท้องว่ามีการเคลื่อนไหวหรือไม่

– ฟังดูว่ามีเสียงหายใจหรือไม่

Advertisements

– สัมผัส โดยแนบใบหน้าไปใกล้จมูกและปากของเด็กเพื่อสัมผัสลมหายใจ

  1. ช่วยเด็กหายใจ ด้วยการให้ประกบปากของผู้ช่วยเหลือ ครอบจมูกและปากของเด็ก แล้วเป่าลมหายใจออก 2 ครั้ง แต่ละครั้งยาว 1-2 วินาที และสังเกตว่าหน้าอกของเด็กขยายตามการเป่าลมหรือไม่
  2. ห้ามอุ้มเด็กพาดบ่าเด็ดขาด กดท้อง จับเด็กห้อยหัว เขย่าเพื่อกระแทกน้ำออก เพราะจะทำให้เด็กอาเจียน สำลัก ขาดอากาศหายใจได้ มีโอกาสในการรอดชีวิตน้อยลง

 

การป้องกัน-เฝ้าระวังเด็กจมน้ำ

การดูแล เด็กขณะเล่นน้ำ

  1. เลือกที่เล่นน้ำให้เหมาะสมแก่เด็ก เช่น สระว่ายน้ำที่มี Security ที่ดี ปลอดภัย เลี่ยงการเล่นน้ำตามบึง คลอง แม่น้ำ ที่ลึกเกินไปไม่เหมาะกับเด็กเล็ก
  2. ถ้าหากเลี่ยงการเล่นน้ำในบึง ลำคลอง แม่น้ำ ทะเลไม่ได้จริงๆ ต้องมีผู้ปกครองคอยดูแลอย่างใกล้ชิด อย่าให้คลาดสายตา
  3. ฝึกเด็กให้มีพื้นฐานในการว่ายน้ำบ้าง เช่นสามารถตะกุยน้ำเข้าฝั่งได้ ว่ายท่าปลาดาว หรือท่าลูกหมาตกน้ำ
  4. อย่าไว้ใจอุปกรณ์ชูชีพมากนักเช่น ห่วงยาง โฟม เสื้อชูชีพ เพราะเด็กวัยนี้มักชอบเล่นซน ถึงอย่างไรผู้ปกครองก็ควรดูแลอย่าให้คลาดสายตา
  5. การเล่นน้ำ แช่น้ำในอ่างที่บ้าน เป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่พบเด็กจมน้ำมากที่สุด เพราะฉะนั้นผู้ปกครองควรดูแลและระมัดระวังความปลอดภัยให้เสมอ
  6. เรียนรู้ใช้หลักการระวังภัยจมน้ำยามฉุกเฉินจาก สสส. คือ “ตะโกน โยน ยื่น”

“ตะโกน” คือ การเรียกให้ผู้ใหญ่มาช่วยและโทร.แจ้งทีมแพทย์กู้ชีพ 1669

“โยน” อุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ตัวเพื่อช่วยคนตกน้ำเกาะจับพยุงตัว เช่น เชือก ถังแกลลอนพลาสติกเปล่า ขวดน้ำพลาสติกเปล่า หรือวัสดุที่ลอยน้ำได้โดยโยนครั้งละหลายๆ ชิ้น

“ยื่น” อุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ตัวให้คนตกน้ำจับ เช่น ไม้ เสื้อ ผ้าขาวม้า ให้คนตกน้ำจับและดึงขึ้นมาจากน้ำ โดยเน้นให้เด็กรู้วิธีการช่วยเหลือคนตกน้ำอย่างถูกต้องโดยต้องไม่กระโดดลงไปช่วย

CR : thaihealthPixabay

Advertisements

Advertisements

Advertisements