“ฝนหลวง” สายธารแห่งความห่วงใยจากพ่อ

ในการเสด็จพระราชดำเนินพระราชกรณียกิจในแต่ละครั้งของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระองค์ทรงทอดพระเนตรเห็นถึงความแห้งแล้ง ความแร้นแค้นของพื้นที่บางพื้นที่ในประเทศไทย หลายพื้นที่ ประสบกับปัญหาภาวะความแห้งแล้ง ขาดแคลนน้ำ ที่เป็นผลต่อเนื่องมาจากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากภาวะโลกร้อน จนส่งผลทำให้ฝนไม่ตกตามฤดูกาล

ในหลวง-ฝนหลวง© รูปต้นฉบับ:svgroup

ปัญหาดังกล่าว พระองค์ทรงเล็งเห็นถึงความทุกข์ยากของพสกนิกรทุกหมู่เหล่า ถึงการขาดแคลนน้ำเพื่อใช้บริโภค อุปโภค รวมไปถึงปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชนไทย ทีีมีอาชีพเกษตรกรเป็นอาชีพหลักเพื่อหล่อเลี้ยงครอบครัว จากสภาวะฝนตกทิ้งช่วง ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรเสียหายเป็นจำนวนมาก

 

ด้วยสายพระเนตรยาวไกลของพระองค์ และสายธารแห่งความห่วงใยที่มีต่อพสกนิกรไทยทุกหมู่เหล่า ทำให้ในปีพุทธศักราช 2499 พระองค์จึงได้พระราชทานโครงการในพระราชดำริ “ฝนหลวง” แก่ ม.ร.ว เทพฤทธิ์ เทวกุล รับสนองพระราชโองการ ให้ดำเนินการศึกษาและค้นคว้าให้พัฒนาวิจัย วิธีการทำฝนหลวงให้ประสบผลในเร็ววัน

ในหลวง-ฝนหลวง© รูปต้นฉบับ:beartai

จนกระทั่งในปีพุทธศักราช 2512 โครงการดังกล่าวจึงได้ประสบความสำเร็จ จากนั้นจึงได้ตราพระราชฎีกาแต่งตั้งสำนักงานปฎิบัติการฝนหลวงขึ้น ในปีพุทธศักราช 2518 ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อรองรับหน่วยงานในโครงการพระราชดำริฝนหลวงต่อไป

ปฏิบัติการฝนหลวง
© รูปต้นฉบับ: thaiware

Advertisements

การทำฝนเทียมหรือฝนหลวงนั้น เป็นการเหนี่ยวนำน้ำจากฟ้า โดยใช้เครื่องบินบรรจุสารเคมีขึ้นไปโปรยบนท้องฟ้า โดยอาศัยการดูสภาพความชื้นของเมฆ และสภาพอากาศ ทิศทางลมร่วมกัน เพื่อใช้ในการคำนวณ ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดฝน ก็คือ ความร้อนชื้นปะทะกับความเย็น และมีแกนการกลั่นตัวที่มีประสิทธิภาพสูง กล่าวคือ เมื่อมวลอากาศร้อนชื้นที่ระดับพื้นผิวขึ้นสู่อากาศเบื้องบน อุณหภูมิของมวลอากาศจะลดต่ำลงจนถึงความสูงที่ระดับหนึ่ง หากอุณหภูมิที่ลดต่ำลงนั้นมากพอก็จะทำให้ไอน้ำในมวลอากาศอิ่มตัว จะเกิดขบวนการกลั่นตัวเองของไอน้ำในมวลอากาศขึ้นบนแกนกลั่นตัว เกิดเป็นฝนตกลงมา

 

การปฎิบัติการทดลองทำฝนหลวงครั้งแรก เกิดขึ้นเมื่อในวันที่ 20 กรกรฎาคม ปีพุทธศักราช 2512 โดยทำการโปรยน้ำแข็งแห้งใส่กลุ่มมวลก้อนเมฆบนท้องฟ้า เหนือบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ผลจากการทดลองปรากฏว่า หลังจากทำปฎิบัติการเสร็จสิ้นประมาณ 15 นาที หมู่มวลก้อนเมฆได้มีการรวมตัวกันอย่างหนาแน่นขึ้น และสีของเมฆก็ได้แปรเปลี่ยนไป หากแต่ว่ายังไม่มีฝนกลั่นตัวตกลงมา โดยได้ผลสรุปว่า จุดสังเกตดังกล่าวยังไม่ดีพอที่จะทำการสังเกตผลในระยะไกล แต่การทดลองในครั้งต่อๆ มา ก็ประสบความสำเร็จได้อย่างเป็นผลที่น่าพอใจ

ในหลวง-ฝนหลวง© รูปต้นฉบับ:prachachat

จากการเริ่มต้นจากสายพระเนตรอันยาวไกลของพระองค์ที่ทรงเล็งเห็นถึงความทุกข์ยากและความแห้งแล้งของพื้นที่ต่างๆ ในประเทศไทย การปฎิบัติการในหลวง ถือว่าประสบผลสำเร็จอย่างยิ่ง เพราะสามารถช่วยเหลือและแก้ไขสถานะการภัยแล้งได้เป็นจำนวนมาก ผลที่ส่งตามนั้น ก็คือผลผลิตทางเกษตรกรรม มีการสูญเสียที่ลดน้อยและแล้วได้ปริมาณคุณภาพที่ดียิ่งขึ้น

05© รูปต้นฉบับ:youtube

จากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จนทำให้ประเทศไทยของได้รับการยอมรับจากนานาชาติ ให้เป็นศูนย์กลางของกิจกรรมทำฝนในเขตร้อยภูมิภาคอาเซียน และยังเป็นตัวแทนในการถ่ายทอดความรู้ด้านเทคโนโลยีการทำฝน ให้แก่ประเทศอื่นๆ อีกมากมาย จึงจะเห็นได้ว่า โครงการดังกล่าว มิได้เปิดประโยชน์แก่คนในชาติไทยเพียงเท่านั้น หากว่ายังมีคุณประการที่มากมายแก่มนุษย์ชาติเลยก็ว่าได้

 

Advertisements

Advertisements

Advertisements