พระบารมีแผ่ไพศาล! 10 ช้างเผือกคู่พระบารมี ประจำรัชกาลที่ 9

ช้างเผือก ตามความเชื่อแต่โบราณ เชื่อกันว่าเป็นสัตว์มงคล เป็นช้างสำคัญคู่พระบารมีพระมหากษัตริย์  ซึ่งช้างที่จะถูกจัดให้เป็นช้างเผือกนั้น จะต้องมีคุณลักษณะพิเศษ 7 ประการ คือ ตาขาว เพดานปากขาว เล็บขาว ขนขาว พื้นหนังขาวหรือสีอ่อน ออกแดงคล้ายหม้อดินใหม่ ขนหางขาว อัณฑโกสขาวหรือสีออกแดงคล้ายหม้อดินใหม่

โบราณเชื่อกันว่า ช้างเผือกคือเครื่องเชิดชูพระเกียรติยศ ประดับพระบารมีของพระมหากษัตริย์ไทย หากมีการค้นพบหรือสามารถคล้องมาได้ ผู้ที่เป็นเจ้าของหรือค้นพบจะต้องน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมกถวาย เมื่อช้างเผือกเข้าสู่พระบารมีแล้ว จะทรงโปรดเกล้าฯ ให้ทำพิธีสมโภชขึ้นระวาง เป็นช้างต้น พระราชทานนามเป็น “พระยาช้างต้น” และให้ยืนโรงช้างประจำพระราชฐาน

นอกจากนี้เชื่อกันว่าพระมหากษัตริย์แผ่นดินใด มีช้างเผือกหรือช้างสำคัญมาก พระบุญญาบารมีจะแผ่ไพศาล ซึ่งในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช นั้น มีช้างเผือกขึ้นระวาง เป็นช้างต้นทั้งสิ้น 10  ช้าง (ยังไม่รวมช้างสำคัญอื่นๆ ที่ไม่ได้ขึ้นระวางอีก)

พระเศวตอดุลยเดชพาหน

พระเศวตอดุลยเดชพาหน ภูมิพลนวนาถบารมี ทุติยเศวตกรีกมุทพรรโณภาส บรมกมลาสนวิสุทธวงศ์ สรรพมงคลลักษณคเชนทรชาติ สยามราษฎรสวัสดิ ประสิทธิ์รัตนกุญชรนิมิตบุญญาธิการ ปรมินทรพิตรสารศักดิเลิศฟ้า เป็น ช้างพลายเผือกโท ลูกเถื่อนตระกูล “พรหมพงศ์” จำพวกอัฏทิศ ชื่อว่า กมุท

image

คล้องได้เมื่อปี ๒๔๙๙ ที่เมือง “กระบี่”โดยมีพล.ท.บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ประธานกรรมการองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย มีการสมโภชช้างนี้เมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๑ และน้อมเกล้าฯ ถวายขึ้นระวางโรงช้างต้น พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ ๑๑ พ.ย. ๒๕๐๒ เริ่มยืนโรง ณ โรงช้างต้น สวนจิตรลดา ในปี ๒๕๑๙ ปัจจุบันอายุกว่า ๕๐ ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญพระเศวต อดุลยเดชพาหนฯ จากโรงช้างต้น สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต มายืนโรง ณ โรงช้างต้น วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๗

ปัจจุบัน พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ ได้ล้มลงแล้วในวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2553 ณ โรงช้างต้น วังไกลกังวล หัวหิน.

e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b980e0b8a8e0b8a7e0b895-04

 

พระเศวตวรรัตนกรี

ลูกช้างบ้านของราษฎรอำเภอสันกำแพง จงหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเมื่อผ่านการพิจารณาตรวจคชลักษณ์จากผู้ชำนาญของสำนักพระราชวังแล้ว พบว่า สมบูรณ์ด้วยศุภมงคลต้องตามตำราพระคชลักษณ์ โดยอยู่ในตระกูลวิษณุพงศ์ จำพวกอัฎฐคช ชื่อ “ดามพหัสดินทร์” สมควรขึ้นระวางเป็นพระยาช้างต้นตามราชประเพณี โดยช้างสำคัญนี้เกิดที่นครเชียงใหม่ ซึ่งได้ทรงสร้างพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ไว้เป็นที่ประทับ เสมอด้วยมีพระราชฐานประจำในนครนี้ ปัจจุบัน ล้มแล้ว

%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a8%e0%b8%a7%e0%b8%95%e0%b8%a7%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%99%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%b5

พระเศวตสุรคชาธาร

ลูกช้างพลายพลัดแม่ที่ราษฎรอำเภอรามัญ จังหวัดยะลา ได้นำมาเลี้ยงไว้ ก่อนจะพบว่ามีลักษณะมงคล ซึ่งเมื่อทางสำนักพระราชวังได้ตรวจสอบ พบว่าลูกช้างนั้นมีมงคลลักษณะถูกต้องตามคชลักษณศาสตร์ อยู่ในพรหมพงศ์ ตระกูลช้าง ๑๐ หมู่ ชื่อ “ดามพหัตถี” พระเศวตสุรคชาธารนับเป็นช้างต้นช้างที่สามในรัชกาลนี้ และยังเคยเป็นพระสหายของสมเด็จพระเทพฯ สมัยยังทรงพระเยาว์ เคยมีกล่าวถึงในบทพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ว่า เมื่อมีการเสด็จฯ แปรพระราชฐานไปยังวังไกลกังวล หัวหิน คุณพระเศวตสุรคชาธารก็ได้โดยเสด็จฯ ด้วย ปัจจุบัน ล้มลงแล้ว

baf731e396231c69884dca0a44e266a1

พระศรีเศวตศุภลักษณ์

ช้างพังเผือก ลูกเถื่อน คล้องมาได้จากจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นช้างตระกูลวิษณุพงศ์ จำพวกอัฏฐคช ชื่อดามพหัสดินทร์ ปัจจุบันกรมป่าไม้เป็นผู้ดูแล

Advertisements

%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a8%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b9%80%e0%b8%a8%e0%b8%a7%e0%b8%95%e0%b8%a8%e0%b8%b8%e0%b8%a0%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%a9%e0%b8%93%e0%b9%8c

พระเศวตภาสุรคเชนทร์

เดิมชื่อภาศรี เป็นช้างพลายเผือก ลูกเถื่อน ของราษฎรในเขตอำเภอท่ายาง เพชรบุรี เมื่อมีการตรวจสอบพบว่ามีคชลักษณ์ถูกต้องตามตำราคชลักษณศาสตร์ อยู่ในตระกูลวิษณุพงศ์ จำพวกอัฎฐคช ชื่อ “ดามพหัสดินทร์” จึงได้ขึ้นระวางสมโภชเป็นช้างสำคัญพร้อมกันทีเดียวถึง ๓ เชือก คือพร้อมกับพระบรมนขทัศ และพระเทพวัชรกิริณี ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จังหวัดลำปาง

k7520883-13

พระเศวตสุทธวิลาส

ช้างพลายเผือกลูกเถื่อน คล้องมาได้จากจังหวัดกาญจนบุรี เป็นช้างตระกูลวิษณุพงศ์ จำพวกอัฏฐคช ชื่อดามพหัสดินทร์ ปัจจุบันอายุเกือบ ๓๐ ปี อยู่ในความดูแลของศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จังหวัดลำปาง

k7520883-10

พระเทพวัชรกิริณี

เดิมชื่อพังขวัญตา เป็นลูกช้างหลงโขลง ชาวบ้านที่ไปตัดไม้ในเขตหัวหินไปพบเข้า จึงจับมาส่งให้กำนันตำบลเขาย้อย ก่อนจะนำไปถวายวัดและเลี้ยงมาคู่กันกับพลายดาวรุ่ง ต่อมาเมื่อมีการตรวจสอบพบว่า พังขวัญตาเป็นช้างสำคัญมีมงคลคชลักษณ์ถูกต้องตามตำราคชลักษณศาสตร์ อยู่ในตระกูลวิษณุพงศ์ จำพวกอัฎฐคช ชื่อดามพหัสดินทร์ ซึ่งตำราระบุว่าสมควรขึ้นระวางสมโภชเป็นพระราชพาหนะ เพื่อความเป็นสิริมงคลของประเทศชาติ

k7520883-14

พระวิมลรัตนกิริณี

ช้างพังเผือก ลูกเถื่อน คล้องมาจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นช้างตระกูลพรหมพงศ์ จำพวกอัฏฐทิศ ชื่อกมุท อายุ ๒๙ ปี ปัจจุบันอยู่ที่โรงช้างต้น พระราชวังภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร

k7520883-11

พระศรีนรารัฐราชกิริณี

ช้างพังเผือก ลูกเถื่อน คล้องได้จากจังหวัดนราธิวาส พลัดกับแม่บนเทือกเขากือชา เป็นช้างตระกูลพรหมพงศ์ พวกอัฏฐทิศ ชื่ออัญชัน อายุ ๒๙ ปี ปัจจุบันอยู่ที่โรงช้างต้น พระราชวังภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร

k7520883-12

พระบรมนขทัศ

เดิมชื่อพลายดาวรุ่ง พบโดยราษฎรที่อำเภอปราณบุรี มีลักษณะพิเศษคือเล็บครบ เมื่อสำนักพระราชวังส่งผู้ชำนาญไปตรวจคชลักษณ์ พบว่า พลายดาวรุ่งเป็นช้างสำคัญที่หาได้ยาก เกิดในตระกูล “วิษณุพงศ์” จำพวก “อัฎฐคช” ชื่อ “ครบกระจอก” ซึ่งตำราคชลักษณศาสตร์นิยมว่า อุบัติมาเพื่อบุญญาธิการของพระมหากษัตริยาธิราช ควรแก่การสมโภชขึ้นเป็นพระราชพาหนะ จะบังเกิดสวัสดิมงคลแก่ประชาราษฎร์

%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%9a%e0%b8%a3%e0%b8%a1%e0%b8%99%e0%b8%82%e0%b8%97%e0%b8%b1%e0%b8%a8

 

Advertisements

Advertisements

Advertisements