คนชอบกินผักฟังไว้! 5 ผักสดเคียง “กินดิบได้ ปลอดภัยแน่”ถ้าทำตามแบบนี้

หลายวันก่อนเห็นการแชร์ต่อเกี่ยวกับ ผักดิบ 5 ชนิดที่ห้ามกินถ้าไม่อยากตาย ทำเอาสายเฮลท์ตี้นิยมกินผักสดถึงกับชะงักกันเลยทีเดียว ไม่นานความจริงก็เผย เมื่อ  ผศ.ชนิพรรณ บุตรยี่ อาจารย์ประจำหลักสูตรพิษวิทยาทางอาหารและโภชนาการ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล  ท่านออกมาให้ความรู้ว่า ผักดิบทั้ง 5 ชนิดนั้นกินดิบได้  ยกเว้นผู้ป่วยบางโรคที่ต้องระวัง และที่น่าเป็นห่วงมากกว่า คือ ยาฆ่าแมลงหรือสารตกค้างในผักดิบมากกว่า   มาดูกันว่า ถ้าจะกินผัก 5 ชนิดแบบดิบๆ นั้น ควรกินอย่างไรให้ปลอดภัยกันค่ะ

 

1

กะหล่ำปลี

ก่อนหน้านี้ หลายคนเข้าใจกันว่า ห้ามกินกะหล่ำปลีดิบ เพราะมีผลต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์  เข้าใจถูกแล้วค่ะ แต่ถูกแค่ครึ่งเดียว เพราะการกินกะหล่ำปลีดิบเข้าไปจะทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานได้น้อยลงเฉพาะผู้ป่วยที่มีภาวะไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism) เท่านั้น ซึ่งตัวการสำคัญคือสารกอยโตเจนในกะหล่ำปลีนั่นเอง แต่สำหรับคนทั่วไปที่ไม่ได้ป่วยด้วยภาวะไฮโปไทรอยด์แล้ว สารกอยโตเจนไม่มีผลอะไรกับร่างกาย แต่ที่น่าเป็นห่วงมากกว่าคือ สารเคมีหรือยาฆ่าแมลงตกค้างในผักต่างหากที่น่ากลัวมากกว่า ดังนั้น ก่อนนำกะหล่ำปลีไปปรุงอาหาร ควรล้างทำความสะอาดแล้วแช่ในน้ำด่างทับทิบเพื่อล้างเอาสารเคมีที่อาจตกค้างออกก่อน

green-cabbage-1107536_640

 

2

ถั่วงอกดิบ

จริงๆ แล้ว ถั่วงอกดิบนั้นไม่ได้เป็นอันตราย แต่ที่อันตรายคือ เชื้อจุลินทรีย์ที่อยู่ในที่เพาะถั่วงอกต่างหาก เช่น เชื้อซัลโมเนลลา หรือเชื้ออีโคไล ที่มาจากการเพาะถั่วงอกหรือสารฟอกขาวปนเปื้อน หากกินโดยไม่ล้างให้สะอาด ก็จะได้รับเชื้อพวกนี้เข้าไป ดังนั้นก่อนกินถั่วงอกดิบทุกครั้ง ควรแช่น้ำด่างทับทิมก่อนเพื่อฆ่าเชื้อจุลินทร์ย์ หรือถ้าเป็นร้านอาหารนอกบ้าน หากไม่มั่นใจว่าล้างสะอาดหรือไม่ก็ควรหลีกเลี่ยงการกินถั่วงอกดิบ

slide1

 

3

ถั่วฝักยาว

สำหรับถั่วฝักยาว ล้างน้ำอย่างเดียวไม่พอ ควรแช่น้ำทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที แล้วเทน้ำทิ้ง แล้วแช่น้ำซ้ำอีก 5 นาที ที่ต้องทำเช่นนี้ก็เพราะถั่วฝักยาว สามารถดูดซึมเอาสารเคมีไว้ในถั่วฝักยาวได้ ซึ่งปกติเกษตรกรที่ปลูกถั่วฝักยาว จะต้องทิ้งไว้ 7 วันหลังฉีดพ่นสารเคมีป้องกันแมลงศัตรูพืช เพื่อให้สารเคมีสลายไปเองตามธรรมชาติ จึงจะเก็บมาจำหน่าย แต่ถ้าเราไม่มั่นใจว่าสารเคมีนั้นจะสลายหายไปหมดแล้วรึยัง ก็ควรล้าง และแช่น้ำเพื่อล้างสารเคมีออกไป

Cowpea-Feature jpg

Advertisements

Cr. motherearthnews.com

 

4

ผักโขม

ในผักโขมมีสารต้านโภชนาการที่ชื่อว่า กรดออกซาลิก (Oxalic Acid) ซึ่งจะเข้าไปต้านการดูดซึมธาตุเหล็ก และแคลเซียม ผักโขมจึงไม่เหมาะกับคนที่มีภาวะขาดธาตุเหล็ก และแคลเซียม สำหรับคนที่ร่างกายแข็งแรงปกติดีไม่มีปัญหา แต่อาจจะมีทริกในการกินกันสักนิด เช่น ถ้ามื้อเช้ากินผักโขมแล้ว มื้อกลางวันก็ควรเลือกอาหารที่มีธาตุเหล็ก และแคลเซียมสูงเพื่อชดเชยธาตุเหล็กและแคลเซียมที่พร่องไป

ผักโขม-ดความอ้วนเพราะมีเส้นใยอาหารสูง

Cr. never-age.com 

5

หน่อไม้ดิบ

หน่อไม้ของขวัญจากผืนป่าที่หลายคนชื่นชอบ คนส่วนใหญ่จะนำมาต้มให้สุกก่อนนำมาปรุงอาหาร  เนื่องจากในหน่อไม้จะมีสารไซยาไนต์อยู่ ดังนั้นจึงไม่ค่อยมีใครกินหน่อไม้ดิบกัน แต่ที่กลายเป็นข่าวว่ากินหน่อไม้แล้วเสียชีวิต ส่วนใหญ่แล้ว สาเหตุมาจากการต้มในน้ำที่เดือดไม่มากพอ ทำให้สารพิษในหน่อไม้ไม่ถูกทำลายทั้งหมด    เมื่อกินหน่อไม้ที่ต้มไม่สุกหรือน้ำเดือดไม่พอ ก็จะได้รับสารไซยาไนด์เข้าสู่ร่างกาย  คราวหน้าถ้าใครหิ้วหน่อไม้มาฝาก  ก่อนจะนำไปปรุงอาหารสวมวิญญาณเชฟกระทะเหล็ก ต้องต้มในน้ำเดือด นานประมาณ 10 นาทีขึ้นไป ถึงจะขับเอาสารพิษออกจากเนื้อหน่อไม้ ได้ประมาณ 90% ซึ่งถือว่าปลอดภัยแล้วค่ะ

e0b89be0b8a3e0b8b0e0b982e0b8a2e0b88ae0b899e0b8b71

Cr. bamboosootsnack.wordpress.com 

เอาเป็นว่า เคลียร์ความเข้าใจกันกระจ่างแล้วนะคะ ว่าการกินผักดิบทั้ง 4 ชนิดนั้น สามารถ “กินดิบ” ได้ ส่วนหน่อไม้ หรือมันสำปะหลัง ต้องต้มในน้ำเดือดเสียก่อน ยกเว้นผู้ป่วยบางโรคเท่านั้นที่ไม่ควรกินดิบๆ และที่สำคัญเพื่อให้การกินของคุณถูกต้องตามหลักโภชนาการแล้ว ควรกินให้หลากหลาย ไม่ควรกินซ้ำ จำเจอย่างใดอย่างหนึ่ง ร่างกายก็จะได้รับสารอาหารที่เป็นประโยชน์ค่ะ

 

ที่มา matichon.co.th

Advertisements

Advertisements

Advertisements