เช็คก่อนซื้อ! 4 จุดห้ามพลาด ถ้าอยากซื้อมือถือมือสอง สภาพนางฟ้า

เดี๋ยวนี้มือถือแต่ละค่าย ออกรุ่นใหม่ๆ เร็วยิ่งกว่าโปรฯ ค่ายโทรศัพท์เสียอีก  มือถือเครื่องมือสองจึงไม่ใช่ของที่หลายคนมองว่าเป็นของไม่ดีไปเสียทั้งหมดแล้ว คนตาถึง ถ้ารู้จุดในการเช็คแล้วล่ะก็ ดีไม่ดี อาจจะได้มือถือมือสองในสภาพนางฟ้า(ที่เจ้าของเดิมขายทิ้งเพราะเบื่อ)ในราคาเบาๆ สบายกระเป๋าก็เป็นได้ แลกมากับตำหนิเล็กน้อย เช่น รอยข่วนเพราะถูกใช้งานมาก่อนแล้ว ถึงแม้ว่าการซื้อมือถือมือสองจะคุ้มค่าและสบายกระเป๋า แต่หากเราไม่ตรวจสอบให้ดี ก็อาจได้ของที่มีตำหนิมาไม่คุ้มค่ากับเงินที่เสียไป เช่น ติด iCloud แบตเสื่อม เคยตกพื้นแรงๆ เป็นต้น ดังนั้นก่อนที่จะตัดสินใจซื้อมือถือมือสอง จึงควรตรวจสอบ 4 จุดสำคัญดังต่อไปนี้

 

1.สืบหาร่องรอยการใช้งาน

แน่นอนว่า ของเคยผ่านการใช้งานแล้ว ย่อมต้องมีร่องรอยกันบ้าง จะเกลี้ยงเกลาเนียบเรียบคงจะเป็นเรื่องยากอยู่สักหน่อย (แต่ก็ขึ้นอยู่กับการดูแล การใช้งาน  แต่ก็ขึ้นอยู่กับอายุการใช้งานของมือถือเครื่องนั้นๆ ถึงแม้ว่าจะเป้นมือถือมือสอง แต่เราก็คงอยากได้มือถือที่มีสภาพดีใช่ไหมคะ ดังนั้นก็ควรเช็ครอยรอบตัวเครื่องว่ามีตรงไหนที่มีรอยชัดเจนมากเกินไปหรือเปล่า หากไม่ซีเรียสตรงนี้ก็ไม่เป็นไรค่ะ เพราะสุดท้ายเราก็ต้องนำมาใส่เคสอยู่ดี แต่หากมีรอยแตก บุบ หัก เป็นไปได้ว่าเครื่องอาจเคยตกพื้นมาก่อน ซึ่งมันอาจจะส่งผลกระทบต่อระบบในเครื่องได้ เราจึงควรเปิดเครื่องเช็คอย่างละเอียดรอบคอบอีกทีค่ะ

เช็ครอย ตำหนิบนเครื่อง

Cr. pixabay.com

2.เช็คอุปกรณ์แท้-เทียม-สเปคเทียบเท่า

เรื่องของอุปกรณ์ที่มาพร้อมตัวเครื่อง เช่น สายชาร์จหรือหูฟัง  หากทางร้านไม่ได้ให้อุปกรณ์แท้มา (ซึ่งเครื่องมือสองบางร้านอาจจะรับซื้อมาเฉพาะตัวเครื่อง) แล้วเราได้อุปกรณ์ที่ไม่ได้มาตรฐานแถมมากับตัวเครื่องแทน อาจส่งผลเสียต่อเครื่องมือถือของเราได้ เช่น สายชาร์จที่ไม่ได้มาตรฐานทำให้แบตเสื่อม หูฟังที่ไม่ได้มาตรฐานทำให้เสียงไม่ชัดเชน ฟังเพลงไม่ไพเราะ เป็นต้น จริงๆแล้วปัจจุบันอุปกรณ์เทียมก็ถือว่ามีคุณภาพในระดับนึง สามารถใช้ได้ แต่ราคาเครื่องมือสองก็จะถูกลงกว่าปกติ เพราะไม่ได้แถมอุปกรณ์แท้มาด้วยนี่เอง นอกจากนี้เราควรดูแบตเตอรี่ ดูจอ ดูตัวเครื่องว่าแท้ไหม เพราะบางเครื่องจอแตกมาแล้วทางร้านนำมาเปลี่ยนจอเทียมใส่ ก็อาจส่งผลต่อการใช้งานเครื่องได้เช่นกันค่ะ

เช็คอุปกรณ์เสริม ของแท้ ของเทียม

Cr. pexels.com

 

Advertisements

3.เปิดเครื่อง-เช็คการใช้งาน

เมื่อตรวจสอบภายนอกแล้ว คราวนี้เราจะต้องเปิดเครื่องเพื่อเช็คภายในด้วย (สำคัญมาก) ให้ลองเลื่อนไปเลื่อนมา ลองเล่นสักพักว่าแบตลดลงเร็วเกินไปหรือไม่ เพราะอาจแปลว่าแบตเสื่อม หรือมีอาการเครื่องค้างไหม หากเป็นไอโฟน ให้เช็คไอคลาวด์ด้วย เปิดกล้องหน้า-หลัง ลองโทรเข้าแล้วพูดสนทนา เพราะอาจมีปัญหาไมค์เสีย เปิดเสียง เปิดระบบสั่น เช็คสเปคของเครื่องว่าตรงกับที่ร้านแจ้งไว้หรือเปล่า สามารถใช้งานได้ครบทุกฟังก์ชั่นหรือไม่ ถึงแม้ว่าเราจะเป็นมือใหม่ ตรวจสอบไม่ค่อยเป็น ให้คิดอย่างง่ายๆ เลยคือให้ลองใช้เหมือนที่เราใช้ปกติ เช่น เปิดกล้องแล้วถ่ายชัดทั้งกล้องหน้ากล้องหลัง มือถือก็สั่นปกติ(สำหรับเรา) เพียงเท่านี้ก็ถือว่าโอเคแล้ว

ลองเปิด-ปิดเครื่อง ทดสอบใช้งานจริง

Cr. pexels.com

 

4.เช็คราคา

ก่อนที่จะซื้อมือถือสักเครื่อง เราควรเดินสำรวจแต่ละร้านเสียก่อนว่า รุ่นนี้ ยี่ห้อนี้ในแต่ละร้านราคาต่างกันแค่ไหน แล้วที่ถูกแพงไม่เท่ากันเป็นเพราะอะไร บางร้านราคาแพงเกินไปหรือไม่ แต่ละร้านมีประกันให้นานแค่ไหน ซึ่งทำให้เราได้มือถือมาอย่างคุมค่าที่สุด

เช็คราคาจากหลายๆ แหล่ง

Cr. pexels.com 

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือเราจะต้องตรวจเช็คทุกอย่างให้รอบคอบก่อนซื้อ ก่อนออกจากร้าน เพราะเมื่อคุณนำออกจากรัศมีของร้านแล้ว ถือว่ายอมรับได้ในตัวเครื่อง หากมีปัญหามาทางร้านอาจจะรับผิดชอบค่าซ่อมให้ บางร้านอาจไม่รับผิดชอบเลย เพราะปัญหามือถืออาจจะเกิดจากเราเองก็ได้ ดังนั้นเราจึงต้องเช็คต่อหน้าผู้ขายและหากพบปัญหาให้แจ้งผู้ขายเลยทันที แต่นอกจากนี้ก็ไม่ได้แปลว่าเครื่องจะปลอดภัย 100% เพราบางอาการอาจจะส่งผลหลังจากที่ใช้ไปแล้วหลายวัน แต่กรณีแบบนี้ก็ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยนัก

Cr. pixabay.com

Advertisements

Advertisements

Advertisements