ระวัง!! 11 ภัยร้ายไม่คาดฝัน ถ้าร่างกายขาด “แมกนีเซียม”

แมกนีเซียม คือ แร่ธาตุชนิดหนึ่ง ที่จัดอยู่ในกลุ่มสารอาหารประเภทเกลือแร่ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับร่างกาย เพราะมีผลเกี่ยวเนื่องกับกระบวนการผลิตเอนไซม์มากกว่า 300 ชนิด และสามารถช่วยให้การทำงานของระบบประสาท ระบบย่อยอาหาร ระบบสืบพันธุ์ ระบบเลือด และระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยค่ะ ทีนี้เมื่อร่างกายขาดแมกนีเซียม ก็จะทำให้ร่างกายไม่ปกติ และเกิดโรคได้ค่ะ ซึ่งโรคที่เกิดจากการขาดแมกนีเซียมนั้น ก็มีดังนี้

1. ปวดกล้ามเนื้อ เป็นตะคริว เพราะแมกนีเซียม มีคุณสมบัติช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ดังนั้น เมื่อร่างกายของคุณขาดแมกนีเซียมจะส่งผลให้กล้ามเนื้อมีอาการกระตุก หดเกร็งตัว และเกิดอาการเป็นตะคริวได้ง่ายๆ


© รูปภาพ: mypregnancyplace

2. เกิดอาการวิตกกังวล แมกนีเซียมมีผลต่อการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง เมื่อร่างกายขาดแมกนีเซียม ร่างกายก็จะส่งสัญญาณเตือนไปยังเจ้าของร่างกาย ทำให้มีความวิตกกังวลเพิ่มมากขึ้น เรื่องนี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการเสริมแมกนีเซียม 200mg เพื่อช่วยกระตุ้นให้ต่อมหมวกไตสร้างฮอร์โมนที่เป็นตัวช่วยควบคุมเมื่อเกิดความวิตกกังวล


© รูปภาพ: vignette

3. ความดันโลหิตสูง ถ้าคุณรับการรับประทานอาหารที่ดีและออกกำลังกายเป็นประจำ แต่ยังคงมีอาการความดันโลหิตสูง นั่นเป็นเพราะร่างกายของคุณกำลังขาดแมกนีเซียม เพราะแมกนีเซียมมีคุณสมบัติช่วยในการขยายและผ่อนคลายหลอดเลือด ดังนั้น เมื่อใดก็ตามที่ร่างกายได้รับแร่ธาตุแมกนีเซียมน้อยเกินไป จะส่งผลให้เส้นเลือดของคุณมีแนวโน้มที่จะหดตัวมากขึ้น ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น

4. โรคทางระบบไหลเวียนโลหิต อย่างพวก โรคหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดหัวใจแข็งตัว เพราะแมกนีเซียมมีความสามารถที่จะช่วยป้องกันไม่ให้แคลเซียม จับตัวอยู่ตามผนังหลอดเลือด จึงป้องกันอาการหลอดเลือดแข็งตัว และป้องกันการอุดตันของเส้นเลือดได้ด้วย


© รูปภาพ

5. ท้องผูก เกิดจากระบบย่อยอาหารทำงานได้ไม่ดีเท่าปกติ เพราะเมื่อขาดแมกนีเซียมจะทำให้ลำไส้จะมีอาการหดตัว แมกนีเซียมจะช่วยทำให้ลำไส้ของคุณมีความยืดหยุ่นดีขึ้น สามารถดึงน้ำเข้าสู่ระบบลำไส้ช่วยให้ร่างกายขับของเสียได้ง่ายขึ้น


© รูปภาพ: organicfacts

6. นอนไม่หลับ บางทีก็มีสาเหตุมาจาก ร่างกายมีแมกนีเซียมต่ำเกินไป ซึ่งแมกนีเซียมนั้นเป็นตัวที่ช่วยในการสร้างสารเมลาโตนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนหลักที่สั่งการนอนหลับและทำให้นาฬิกาของร่างกายทำงานได้อย่างเป็นปกติ ถ้าขาดแมกนีเซียมจะทำให้วงจรการนอนหลับของร่างกายผิดเพี้ยนไปได้ นอกจากนี้แมกนีเซียมยังมีผลต่อการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางที่ช่วยควบคุมการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อ การขาดแร่ธาตุแมกนีเซียม จะรบกวนการทำงานของเส้นประสาท มีผลทำให้คุณหงุดหงิดง่าย อารมณ์ไม่คงที่ และนอนไม่หลับได้ค่ะ

Advertisements

7. การเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ หากคุณขาดแมกนีเซียม กล้ามเนื้อในร่างกายของคุณจะไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ อย่าลืมว่า!! หัวใจของคุณก็เป็นกล้ามเนื้อเช่นเดียวกันนะคะ หากแมกนีเซียมมีไม่เพียงพอก็อาจทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจผิดเพี้ยนไป ส่งผลให้เกิดการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ


© รูปภาพ: draxe

8. ปวดไมเกรน และปวดตามร่างกาย เพราะแมกนีเซียม ทำหน้าที่เป็นตัวยาสงบประสาทตามธรรมชาติ จึงช่วยบรรเทาและลดความถี่จากอาการปวดหัวไมเกรน ลดอาการซึมเศร้า และลดอาการปวดประจำเดือนจากการหดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก


© รูปภาพ: robertsdental

9. นิ่วในไต นิ่ว คือ การก่อผลึกแร่ธาตุในปัสสาวะ และสารที่จะช่วยป้องกันการก่อผลึกที่สำคัญ ก็คือ แมกนีเซียม


© รูปภาพ: quickanddirtytips

10. หนาวง่าย อาจมีสาเหตุมาจากขาดแมกนีเซียม เพราะแมกนีเซียมช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ทำให้ร่างกายสามารถต้านทานความหนาวเย็นได้


© รูปภาพ: sciencedaily

11. โรคหอบหืด แมกนีเซียมก็มีบทบาทสำคัญต่อการลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อหลอดลม ทำให้คลายตัวได้ดี ช่วยขยายช่องหลอดลม คนที่ขาดแมกนีเซียม จึงมีความเสี่ยงของโรคหอบหืดได้ค่ะ


© รูปภาพ: thesun.co.uk

รู้อย่างนี้แล้ว พยายามทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และอย่าลืมแร่ธาตุอย่างแมกนีเซียม ที่มีอยู่มากในถั่วเมล็ดแห้ง ธัญพืช ผักใบเขียว อาโวคาโด และช็อกโกแลตเข้มข้น เพื่อช่วยลดอาการขาดแมกนีเซียมกันนะคะ

Advertisements

Advertisements

Advertisements