ชำแหละความเศร้า!! 9 ประเภทของ “โรคซึมเศร้า” หรือโลกเราเครียดมากไป

โรคซึมเศร้า ไม่ใช่สูตรสำเร็จที่ใครๆ ก็เข้าใจได้  เพราะอาการซึมเศร้าของแต่ละคนจะแตกต่างไปตามสถานการณ์ที่คนๆ นั้นกำลังเผชิญ  คุณอาจเป็นนักเรียนที่กำลังเตรียมสอบ คุณอาจเป็นคุณแม่มือใหม่ที่จัดการชีวิตไม่ได้  หรือคุณอาจเป็นคนหลังเกษียณที่ไม่รู้จะทำอะไรต่อดี  แน่นอนว่าปัญหาของแต่ละคนย่อมให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน  แต่สิ่งที่เหมือนกันนั่นคือ  ความรู้สึกนั้นมันมากกว่าความเศร้าธรรมดา (เช็กว่าเป็นโรคซึมเศร้ารึเปล่า?ที่นี่)

อาการซึมเศร้า ถือเป็นภาวะความผิดปกติของอารมณ์อย่างหนึ่งที่สามารถส่งผลกระทบหลายด้าน ทั้ง ความรู้สึก ความคิด และการใช้ชีวิตประจำวัน  ทำให้คนที่มีภาวะซึมเศร้าแสดงออกด้วยความเครียด ความเศร้า และขาดความสนใจในความสุนทรีต่าง ๆ  บางคนอาจส่งผลกระทบต่อร่างกายด้วย เช่น น้ำหนักเพิ่มหรือลด  ปวดท้อง นอนไม่หลับ หรือบางกรณีอาจถึงขั้นคิดฆ่าตัวตายอย่างที่เป็นข่าวกัน โดยเราสามารถแบ่งโรคซึมเศร้าออกเป็น 9 ประเภทได้ดังนี้ค่ะ

 

1. โรคซึมเศร้าหลัก (Major Depression)

โรคซึมเศร้าหลักหรือ Major Depression คือโรคหลักของอาการซึมเศร้าซึ่งมีตั้งแต่อาการระดับน้อยไปจนถึงรุนแรง  โดยผู้ป่วยจะมีอาการเศร้ามาก รู้สึกหมดหวัง และขาดความสนใจในกิจกรรมต่างๆ  ขาดความกระตือรือร้น นอนมาก หรือ นอนน้อยกว่าปกติ  มีความรู้สึกผิด และอาจมีอาการรุนแรงมากจนถึงขั้นคิดฆ่าตัวตาย  โดยการรักษาโรคซึมเศร้าที่ดีที่สุดก็คือการพบแพทย์เพื่อรักษาด้วยยา ข่าวดีคือ มีคนจำนวนมากรักษาหายด้วยวิธีนี้ค่ะ

 

2. โรคซึมเศร้าแบบเรื้อรัง (Dysthymia)

โรคซึมเศร้าประเภทนี้มักมีอาการคล้ายกับโรคซึมเศร้าหลัก  แต่มีระดับความรุนแรงที่น้อยกว่า อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยมักมีอาการต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน  จนส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน  ซึ่งการรักษาโรคซึมเศร้าประเภทนี้อาจเริ่มต้นด้วยการพูดคุย  หรืออาจใช้ยาร่วมด้วย ซึ่งขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของแพทย์ค่ะ

 

3. โรคซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum Depression)

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดนั้นเกิดกับคุณแม่หลายคนในช่วงเดือนแรกๆ ของการคลอดลูก ซึ่งเกิดจากภาวะฮอร์โมนของร่างกายที่เปลี่ยนแปลง  โดยผู้ป่วยจะมีอาการเครียด วิตกกังวล มีความเหงาและเศร้าปะปนกัน  ประกอบกับความกังวลต่อลูกเล็ก ซึ่งผู้ที่มีอาการมากจำเป็นต้องได้รับการรักษาจากแพทย์เช่นกัน

 

4. ภาวะซึมเศร้าเพราะฤดูหนาว (Seasonal Affective Disorder : SAD)

อาจดูเป็นภาวะซึมเศร้าที่คนไทยไม่ค่อยรู้จักนัก อย่างไรก็ตาม มีผู้ป่วยจำนวนมากในต่างประเทศที่มีอาการซึมเศร้าเพราะอากาศหนาวเย็นในช่วงต้นฤดูหนาวไปจนถึงช่วงเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ  โดยบางคนก็ต้องเข้าพบแพทย์เช่นกันค่ะ

 

5. ภาวะซึมเศร้าที่ส่งผลต่อร่างกาย (Atypical Depression)

จัดโรคซึมเศร้าที่มีภาวะความรุนแรงน้อยที่สุด  โดยจะส่งผลออกมาทางร่างกายและพฤติกรรมบางอย่าง  เช่น รู้สึกเหมือนไม่ค่อยมีแรงทำอะไร  มีการนอนมากเกินไป หรือกินมากเกินไป  และอาจปัญหาเรื่องความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง โดยโรคซึมเศร้าประเภทนี้สามารถรักษาได้ด้วยการพูดคุยกับจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญค่ะ

 

Advertisements

6. โรคซึมเศร้าที่เข้าสู่ภาวะโรคจิต

ภาวะซึมเศร้าประเภทนี้เป็นอาการที่รุนแรง  เพราะผู้ป่วยจะเริ่มมีความคิด พฤติกรรม และความเชื่อที่ผิดไปจากความเป็นจริง  จนอาจขั้นมองเห็นและได้ยินในสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้น โดยมีการศึกษาพบว่า มีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าถึง 20 เปอร์เซ็นต์ที่มีอาการมากจนถึงขั้นมีอาการทางจิต  และต้องใช้การรักษาหลากหลายแบบร่วมกัน

 

7. โรคไบโพล่าร์

ในบางครั้งโรคไบโพลาร์อาจถูกเข้าใจผิดว่าเป็นโรคซึมเศร้าได้ เพราะมีอาการบางส่วนที่คล้ายกัน  แต่ในโรคไบโพล่าร์ ผู้ป่วยจะมีอารมณ์ไม่คงที่  ในบางครั้งอาจมีอาการตื่นเต้นมากเกินไป ดูมีพลังงานสูง  แต่ในบางครั้งก็มีอาการซึมเศร้า สลับไปมาอยู่ตลอด  สำหรับการรักษาโรคไบโพล่าร์จำเป็นต้องรับประทานยาเพื่อช่วยในการปรับอารมณ์ให้มีความปกติมากขึ้น

 

8. อาการซึมเศร้าก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual Dysphoric Disorder)

อาการซึมเศร้าในช่วงการมีรอบเดือนของผู้หญิงนั้น  เป็นอาการที่ส่งผลกระทบต่อผู้หญิงมากถึง 50% โดยส่งผลให้มีความวิตกกังวล  อารมณ์ขึ้นลงง่าย  อย่างไรก็ตาม มีเพียง 5% ที่อาการรุนแรงจนถึงขั้นเรียกว่าโรคซึมเศร้า  ซึ่งกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ซึ่งในกรณีนี้จำเป็นต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

 

9. อาการซึมเศร้าเฉพาะเหตุการณ์ (Situational Depression)

หลายคนมีอาการซึมเศร้าแบบชั่วคราวจากเหตุการณ์บางอย่างที่เข้ามากระทบชีวิต  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเรียน เรื่องงาน หรือเรื่องความรัก  โดยส่วนใหญ่แล้วโรคซึมเศร้าประเภทนี้ไม่ต้องใช้ยารักษา เพราะจะเริ่มมีอาการดีขึ้นเองหลังจากเหตุการณ์ผ่านพ้นไป  อย่างไรก็ตาม หากมีอาการเป็นเวลานานก็อาจพัฒนากลายเป็นโรคซึมเศร้าแบบหลักได้ค่ะ

ความจริงแล้วการจะตัดสินว่าเราเป็นโรคซึมเศร้าแบบไหนหรือใช้วิธีรักษาแบบใดนั้น  ควรอยู่ในวิจารณญาณของแพทย์  เพราะโรคซึมเศร้าส่วนใหญ่จะไม่สามารถรักษาให้หายเองได้  แถมหากปล่อยไว้นานโดยไม่รักษา อาจก่อให้เกิดอันตรายมากกว่าที่คิด  สำหรับคนที่ยังสงสัยอยู่ว่าตัวเองหรือคนใกล้ตัวกำลังเข้าข่ายโรคซึมเศร้าหรือไม่ UndubZapp แนะนำว่าให้ลองปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญดูดีกว่าค่ะ

กดติดตาม ADD Line @UndubZapp

 

แซ่บกันต่อ…

>> วันที่เศร้าหมอง…ชีวิตยังเป็นของเรา! 5 วิธีคิดบวก ในวันที่เจอเรื่องแย่

>> เครียดจนคิ้วย่น!! 13 การใช้ชีวิตทำลาย “สุขภาพจิต” เกิน 5 ข้อเสี่ยงซึมเศร้าแล้วนะ

Advertisements

Advertisements

Advertisements